อาหารที่เรารับประทานในแต่ละวัน เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราต้องหมั่นดูแลและตรวจสอบด้วยตัวเอง โดยเฉพาะผู้ที่แพ้กลูเตน ซึ่งการหลีกเลี่ยงกลูเตนในปัจจุบัน มีทางเลือกที่มากขึ้น
ปัจจุบันเทรนด์อาหารและเบเกอรี่กำลังมาแรง ทำให้เกิดกระแสใหม่ๆ ออกมาให้เลือกบริโภคมากมาย ซึ่งการรับประทานอาหารแต่ละมื้อนั้นก็อาจมี “กลูเตน” แฝงอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัว สังเกตได้ว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคแพ้อาหารมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ “แพ้กลูเตน” ทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนั้น ควรเริ่มหันมาใส่ใจสังเกตอาการของตนเองหลังจากรับประทานอาหารมีอาการผิดปกติ เช่น ท้องอืด มีก๊าซในกระเพาะ หรือลมพิษขึ้นตามตัว หรือไม่ ? ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเพียงอาการเบื้องต้นที่ส่งสัญญาณว่าคุณแพ้กลูเตนอยู่ และนอกจากนี้ยังมีอีกหลายอาการที่ที่บ่งบอกว่าคุณแพ้กลูเตน แต่จะมีอาการแบบไหนบ้าง บทควานี้มีคำตอบมาฝากทุกคน
กลูเตน (Gluten) คืออะไร
กลูเตน (Gluten) เป็นไกลโคโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบในธัญพืชบางชนิด เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ โดยมีลักษณะเหนียว ยืดหยุ่น และไม่ละลายน้ำ ทำหน้าที่เสมือนกาวในการเชื่อมส่วนของอาหารไว้ด้วยกัน ช่วยให้อาหารคงรูปร่างและจับตัวเป็นก้อน จึงเป็นวัตถุดิบหลักในการทำขนมปัง พาสต้า อาหารแปรรูปต่างๆ และอาหารเจ รวมทั้งเบเกอรีที่ขายทั่วไปด้วย ซึ่งกลูเตนเป็นอาหารที่ก่อภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง และมีคนจำนวนมากที่มีแพ้สารนี้โดยไม่รู้ตัว
อาการบ่งบอกว่าคุณกำลังแพ้กลูเตน (Gluten)
“ปวดศีรษะ”
ในบางรายอาจปวดศีรษะนานประมาณ 30-60 นาที เลยทีเดียว หลังจากรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตนเข้าไป
“มีอาการวิงเวียนศีรษะ“
เมื่อรับประทานอาหารที่มีส่วนประผสมของกลูเตนเข้าไป ผู้ที่แพ้จะเริ่มมีอาการวิงเวียนศีรษะทันที
“มีผื่นหรือลมพิษขึ้นตามตัว“
หากมีอาการแพ้กลูเตน มักจะมีปัญหาผิวหนังเกิดขึ้น เช่น ผิวเป็นรอยแดง รอยไหม้ ตุ่มพุพองหรือผื่นต่างๆ รวมไปถึงอาการคัน
“ปวดเมื่อยตามตัว”
ผู้ที่แพ้กลูเตนอาจมีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ รวมไปถึงปวดเมื่อยที่เส้นเอนและข้อต่อ ถึงแม้ว่าจะพักผ่อนอย่างเพียงและไม่ได้ออกกำลังกายหนักเกินไป หากมีอาการข้างต้น ตั้งข้อสันนิษฐานไว้เลยว่า อาการนี้อาจเกิดขึ้นจากการที่คุณแพ้กลูเตนอยู่ก็ได้
“คลื่นไส้หรืออาเจียน”
เมื่อรับประทานอาหารที่ส่วนผสมของกลูเตน จะรู้สึกอึดอัด มวนภายในท้อง พะอืดพะอม ทำให้รู้สึกอยากอาเจียน ซึ่งต่อมาอาจอาเจียนออกมาเลยก็ได้
“ปวดเกร็งในช่องท้อง”
ผู้ที่แพ้กลูเตนจะรู้สึกปวดเกร็งหรือปวดบีบภายในช่องท้องเป็นช่วงๆ ซึ่งสามารถพบได้ทั้งระดับที่ไม่รุนแรง ปานกลาง ไปจนถึงรุนแรง
“ท้องเสียหรือท้องผูกรุนแรง”
เมื่อรับประทานอาหารที่ส่วนผสมของกลูเตน ทำให้เกิดการปวดท้องร่วมกับมีอาการท้องเสียหรือและท้องผูก หรือท้องเสียสลับกับท้องผูก
“ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร”
หากผู้ที่แพ้แลคโตสอยู่แล้วจะมีระบบการย่อยอาหารที่ไม่ค่อยดี และเมื่อรับประทานอาหารที่มีกลูเตนเข้าไป ระบบการย่อยอาหารยิ่งมีปัญหามากกว่าเดิม
“รู้สึกหมดแรงและเหนื่อยเรื้อรัง”
จากการวิจัยเชื่อว่า อาการแพ้กลูเตนคือปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการเหนื่อยล้าหรือหมดแรงเรื้อรัง นั้นคือระบบการเก็บสำรองพลังงานของร่างกายและระบบการติดเชื้อ
การรักษาอาการแพ้กลูเตน (Gluten)
ปัจจุบันยังไม่พบข้อมูลการรักษาอาการแพ้กลูเตนที่สามารถรักษาให้หายขาดได้อย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อทราบว่ามีความเสี่ยงหรือมีอาการแพ้กลูเตน ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหรือเบเกอรีที่มีส่วนผสมของกลูเตน (เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์) เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้กลูเตน สำหรับการปรุงอาหารสามารถเลือกใช้ส่วนประกอบแป้งที่ปราศจากกลูเตน เช่น แป้งข้าวเจ้า, แป้งข้าวเหนียว, ข้าวโพด, มันฝรั่ง, ถั่วเหลือง เป็นต้น รวมทั้งปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการก่อนวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
ทางเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากกลูเตน
สำหรับผู้ที่แพ้กลูเตนหรือกำลังมองหาทางเลือกเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ตราปลาแฟนซีคาร์ฟเป็นทางเลือกที่ดี เรามีแป้งตระกลูข้าวไทยที่ปราศจากกลูเตน 100% ไม่ว่าจะเป็นแป้งข้าวหอมมะลิ แป้งข้าวหอมมะลิกล้องเหลือง แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเหนียวดำ และแป้งข้าวไรซ์เบอร์รีที่ปราศจากกลูเตน สามารถใช้แทนแป้งสาลีได้ในการทำเมนูกลูเตนฟรี นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประกอบอาหารหรือทำเบเกอรี่สำหรับผู้ที่แพ้กลูเตนได้ และยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แป้งข้าวที่มีสีสันต่างๆ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าข้าวขาว สามารถนำไปประกอบอาหารหรือเบเกอรี่ได้หลากหลายเมนูอีกด้วย หมดกังวลเรื่องอาการแพ้กลูเตน โดยสามารถสั่งซื้อได้ที่ช่องทาง Shopee และ Lazada ปลาแฟนซีคาร์ฟ (เจริญวรกิจ) หรือที่ ไลน์แอด @MissFlour เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพและควบคุมอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่แพ้กลูเตน